Sunday, August 29, 2010

หว่านตูบหมูบ

ชุมชนท้องถิ่นอุบลฯ
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Kaempferia galanga Linn.
ชื่อวงศ์ : ZINGIBERACEAE
ชื่ออื่นๆ : ่ว่านหอม ว่านตีบดิบ เปราะ
หว่านตูมหมูบ (อีสาน)
ลักษณะทั่วไป : หว่านตูมหมูบ เป็นไม้ล้มลุก ลำต้น คลุมดิน เป็นไม้ลงหัว ใบ อ่อนม้วนเป็นกระบอกออกมาแล้วแผ่ราบบนหน้าดิน ต้นหนึ่ง ๆ มักมี 1 – 2 ใบ ทรงกลมโตยาว ประมาณ 5 – 10 ซม. หน้าใบเขียว  มีกลิ่นหอม หัวกลมเหมือนหัวกระชาย ใบงอกงามในหน้าฝน แห้งไปในหน้าแล้วเกิดตามที่ลุ่มชื้นแฉะในป่าตงดิบ ขยายพันธุ์  โดยใช้ลำต้นใต้ดิน รสชาติ รสหอม
นิเวศวิทยา : ขึ้นตามดินหรือเกาะอยู่ตามโขดหิน ตามป่าใกล้ลำน้ำทั่วไป หรือป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณที่ชื้นแฉะ  ชุมท้องถิ่น เหนือ   อีสาน
ประโยชน์ :หว่านตูมหมูบ เป็นเครื่องเทศและเครื่องยา ใบสดเป็นผักจิ้ม น้ำคั้นจากใบและโคนใช้ป้ายคอ เพื่อบรรเทาอาการเจ็บคอ ใช้ล้างศีรษะ เพื่อป้องกันมิให้เกิดรังแค สรรพคุณ  ดอกรสหอมร้อน แก้ตาอักเสบ ตาแฉะ สรรพคุณของ หว่านตูมหมูบ ขาวดอกรสหอมร้อน แก้เด็กนอนสะดุ้ง ร้องไห้ตาเหลือง
ทางอาหาร  ใบอ่อน  หัว  กินสด กับชุปหน่อไม้  ใบอ่อนนำมาใส่แกงอ่อมช่วยดับกลิ่นคาว  เช่นแกงอ่อม ทางยา  เข้ายาแก้โรคตับ มหานิยม การใช้สอยอื่น  น้ำคั้นจากหัวและใบ 

Wednesday, July 28, 2010

เห็ดระโงก

เห็ดระโงก,เห็ดระโงกเหลือง  เห็ดระโงก  มีสองสีขาวกับเหลืองเห็ดระโงกไข่เหลือง เขายกย่องให้เป็นยอดเห็ด คล้ายไข่ห่าน เมื่อโตขึ้นหมวกและก้านดอกจะดันปลอกหุ้มแตกออกมา สปอร์และครีบสีขาว แล้วแต่สายพันธุ์ ดอกเห็ดมีลักษณะเป็นเมือก ขอบหมวกมีร่องเล็กๆตรงกันกับครีบ เมื่อดอกบานขอบหมวกจะขาดตามรอยนี้ ด้านล่างหมวกมีครีบสีขาว ก้านดอกยาวเป็นทรงกระบอก ผิวเรียบสีขาวหรือเหลืองนวล เนื้อเยื่อภายในก้านดอกสีขาว และสานต่อกันอย่างหลวมๆ ตรงกลางก้านดอกมีรูกลวงเล็กน้อยไม่มีขายในตลาดเพราะเป็นเห็ดสงวน การเก็บเห็ดชนิดนี้ต้องระวังให้ดี และต้องมีประสบการณ์ดูเห็ดสกุล Amanita มามาก ถ้าพลาดถึงตาย แล้วก็รักษาไม่ได้ เนื่องจากพิษของเห็ดไปทำลายเซลของตับและไต
สาระสำคัญ ที่พบในเห็ดทุกชนิด ได้แก่ เทอร์พีนอยด์และบีตา กลูแคน ที่เป็นตัวช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันให้ทำงานได้อย่างสมดุล นอกจากนี้ ยังพบว่าสารจากเห็ดมีผลต่อพรีไบ-โอติก (Prebiotics) ที่อยู่ในระบบทางเดินอาหาร ทำให้เกิดสารที่เรียกว่า "สารสร้างสมดุล" (adaptogens) สารนี้จะช่วยทำให้เกิดสมดุลในร่างกายเมื่อเกิดความเครียด ประเทศจีนและญี่ปุ่น เป็นประเทศที่มีการใช้เห็ดเป็นยามากที่สุด แต่ปัจจุบันประเทศที่เริ่มมีการพัฒนาใช้เห็ดเป็นยามีเพิ่มมากขึ้น เช่น เกาหลี และสหรัฐอเมริกา เห็ดที่นิยมนำมาใช้เป็นยาและมีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์สนับสนุนได้แก่ เห็ดหอม (Shitake) เห็ดหลินจือ (Reishi) เห็ดช้อนซ้อน (Maitake) เห็ดนางรม (Oyster) เห็ดเข็มทอง (Enokitake) สำหรับในประเทศไทยมีการกินเห็ดกันมากในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จากรายงาน พบว่าเห็ดที่คนอีสานบริโภคมีถึง 483 ชนิด และมีจำหน่ายในท้องตลาด 222 ชนิด แต่การศึกษาเห็ดเป็นยายังมีน้อยมาก ส่วนใหญ่องค์ความรู้การใช้เห็ดเป็นยาที่มีอยู่มักเป็นองค์ความรู้แบบพื้นบ้าน
เห็ดระโงกขาว

Saturday, July 10, 2010

เห็ดเผาะฝ้าย เห็ดเผาะหนัง

เห็ดเผาะนอกจากขึ้นได้ง่ายกับตามร่มต้นไม้ต่างๆ เห็ดเผาะเป็นเห็ดรสดี แต่ปลุกในถุงหรือในแปลงเพาะชำไม่ได้ เนื่องจากเป็นเห็ดป่า คือเห็ดราที่อาศัยอยู่กับรากไม้อาศัยประโยชน์ซึ่งกันและกันรากไม้ให้อาหารบางส่วนแก่เห็ด เห็นยังได้อาหารบางส่วนที่ปล่อยไปภายนอก ย่อยอินทรีย์วัตถุให้อยู่ในสภาพเล็กลง ละลายง่าย เป็นประโยชน์ทั้งต่อเห็ดและต้นพืชเส้นใยของเห็ดรายังช่วยดูดซับไอน้ำมาจากชั้นดินตอนล่างทำให้ต้นไม้ทนต่อความแห้งแล้งเก่งขึ้นเมื่อฤดูฝนแล้งมีฝนตกใหญ่ ต้นไม้ก็แตกใบอ่อน รากก็แตก รากออกใหม่ เส้นใยที่รากก็รวมตัวกันสร้างดอกเห็ด ใช้ดอกเห็ดแก่เป็นพันธุ์เห็ดได้ พลังงานทั่วโลกแพงขึ้นการใช้พลังงานทดแทนจากถ่านไม้ฟืนในชนบททำให้ต้นไม้ในป่าลดลง ต้องช่วยกันปลูกป่าตั้งแต่ต้นฤดูฝนต้นไม้ทุกต้นที่มีอยู่แล้วรักษาไว้ให้เติบโตต่อไป ต้นไม้ที่จะปลูกเพิ่มในป่าชุมชนท้องถิ่นควรจะสร้างประโยชน์มากเป็นรายปีตลอดหน้าฝนโดยการเกิดเห็ดต่างๆในธรรมชาติ และเห็ดเผาะ พืชที่จะนำมาปลูกป่าปลูกเห็ดมีให้เลือกมากมาย
แหล่งที่พบ : พบตามป่าโปร่ง บริเวณพื้นดินใต้โคนต้นไม้ที่ถูกไฟเผาใบแถบภาคอีสานและเหนือ
การกิน : นิยมกินเห็ดในระยะที่อ่อนอยู่ โดยนำไปแกงคั่วและผัดกับเนื้อสัตว์ หรือกินสดเป็นผักจิ้มน้ำพริก
คุณค่าทางอาหาร : เห็ดเผาะ 100 กรัม ให้พลังงาน 47 กิโลแคลอรี ประกอบด้วย แคลเซียม 39 มิลลิกรัม       ฟอสฟอรัส 85 มิลลิกรัม เหล็ก 3.6 มิลลิกรัม ไนอะซิน 0.7 มิลลิกรัม ไทอะมิน 0.04 มิลลิกรัม วิตามินซี 12 มิลลิกรัม โปรตีน 2.2 กรัม ไขมัน 0.4 กรัม คาร์โบไฮเดรต 8.6 กรัม น้ำ 87.8 กรัม
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Astraeus hygrometricus (Pers.) Morgan

Thursday, June 17, 2010

เห็ดโคน(เห็ดปลวก)


“เห็ดโคนหรือเห็ดปลวก” นับเป็นเห็ดที่มีรสชาติอร่อยที่สุดและมีราคาแพงที่สุดของไทย  หลายคนบอกว่าเห็ดโคนมีรสชาติอร่อยระดับโลก   และเป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า ปัจจุบันนี้เห็ดโคนยังไม่สามารถที่จะเพาะเลี้ยงในเชิงพาณิชย์ได้ จะต้องเก็บจากธรรมชาติ และเก็บได้เพียงปีละ  1-2 รุ่น ในช่วงที่อากาศร้อนอบอ้าวและมีฝนตกลงมาในช่วงฤดูฝน ถึงแม้ในขณะนี้จะมีการส่งเสริมให้เกษตรกรเพาะเลี้ยงเห็ดโคนน้อยมากขึ้น อย่างไรก็ตามเห็ดโคนน้อย ยังมีรสชาติที่อร่อยสู้เห็ดโคนป่าไม่ได้ เห็ดโคนพบได้ในหลายพื้นที่ของประเทศไทยตามป่าหรือสวนผลไม้  จากการศึกษาพบว่าเห็ดโคนจะเกิดอยู่ใต้ผิวดิน มีรากหยั่งลึกลงถึงรังปลวก  การพบเห็ดโคนพบได้ทั้งที่ราบ  ที่เนิน  หรือตามผาหินที่มีการสร้างอาณาจักรขอจอมปลวก (Colony)  โดยในอาณาจักรจะมีการแผ่ขยายรังย่อยออกไปทั้งสี่ทิศ  ตามความเหมาะสมของภูมิศาสตร์  แต่ละแห่งในรังปลวกแต่ละรังจะเป็นสวนเห็ด (fungus  garden) เป็นอาหารของปลวกตัวอ่อน ในวงจรชีวิตของปลวกมันจะมีการตระเตรียมพลังไว้สร้างอาหาร  และขยายพันธุ์ออกไปสู่โลกภายนอกซึ่งก็คือ  “แมลงเมา”  เมื่อมีปัจจัยต่างที่มีความเหมาะสม  เห็ดโคนมีโอกาสในการเจริญเติบโตเป็นดอกเห็ดโคนที่อยู่ใต้ดิน  เท่าที่ศึกษามีอยู่ 2 ประเภท
    ประเภทที่ 1 เห็ดโคนที่ขึ้นอยู่ตามผิวของจอมปลวก เติบโตจนชนดินที่อยู่ห่าง 1-2 เซนติเมตร  มีกากรพอกบานแบบดอกไม้บริเวณที่ชนดิน  และต่อจากนั้นจึงสร้างเป็นก้านและดอกเห็ด   ซึ่งเราจะรับประทานเฉพาะส่วนที่เจาะเข้าไปในดิน จนถึงปลายหมวกดอก โคนดอกที่พ้นดินจะอวบอ้วน รังปลวกจะอยู่ต่ำจากผิวดินไม่มากนัก
     ประเภทที่ 2 เห็ดโคนที่ขึ้นจากใต้ดิน เห็ดพวกนี้รากจะหยั่งลึกถึงรังปลวกใต้ดิน  เติบโตและมีหมวกดอกจากรังปลวก ปลายหมวกดอกแหลมจะทะลุดินขึ้นมา พวกนี้ก้านจะเรียวยาวเก็บยากเพราะอยู่ในดินลึก
แหล่งที่มีเห็ดโคนชุกชุมได้แก่ บริเวณป่าเขตร้อน ท้องถิ่นอุบลฯ
นอกจากลักษณะใต้ดินที่พอจะแยกได้สองประเภทแล้ว   เวลาพ้นดินขึ้นมายังมีลักษณะของสีดอก  และก้านที่แตกต่างกันไปตามลักษณะดิน  อากาศ  แสง  และอุณหภูมิ ซึ่งมีอาจารย์หลายท่านได้แยกไว้  เช่น  เห็ดโคนปี  เห็ดโคนขาไก่  เห็ดโคนข้าวดอก  เห็ดโคนไฟ  เห็ดโคนน้ำท่วม  และอื่น ๆ  ตมลักษณะสี  รูปร่างและปัจจัยในการเกิด  แต่ก็ยังไม่สามารถที่จะหาข้อยุติในสิ่งต่าง ๆ ได้   เพราะธรรมชาติยังคงความเป็นธรรมชาติที่เรายังไม่เข้าใจ จึงต้องพยายามศึกษากันต่อไปอีก  แต่ที่มีเชื่อเสียงมากที่สุดจะพบมากในป่าเบญจพรรณ  เขตท้องถิ่นต่างๆ...
การบริโภคเห็ดในปัจจุปัน  ต้องระมัดระวังสิ่งปนเปื้อน และเห็ดมีพิษ หากล้างไม่สะอาดจะทำให้มีอาการคลื่นไส้อาเจียน หรือาจเสียชีวิตจากพิษของเห็ดได้

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Termitomyces  fuliginosus  Heim
ชื่อสามัญ : เห็ดโคน  เห็ดปลวก  เห็ดร้อน

Saturday, May 29, 2010

เห็ดไค(เห็ดตะไคร)

เห็ดไค (เห็ดตะไคร)
เห็ดไค มีลักษณะ คล้ายเห็ดก่อ ดอกใหญ่แข็งและกรอบ มีสีขาวปนเทา เวลาย่างจะมีกลิ่นหอม ชอบขึ้นตามป่าที่เปียกชื่นเวลาฝนตกใหม่ๆแหล่งธรรมชาติชุมชนท้องถิ่นต่างๆส่วนมากทางภาคอีสาน ภาคเหนือ เห็ดไคส่วนมากนิยมมาประกอบอาหารทางอีสานเรียกว่า  เห็ดไค ทางเหนือเรียกเห็ดหล่ม ทางภาคกลางเรียกเห็ดตะไคร เป็นสิ่งเกิดโดยธรรมชาิติคนท้องถิ่นเชื่อกันว่าเป็นยาอายุวัฒนะแก้โรคต่างๆได้มากมายตามความเชื่อของคนโบราณซึ่งได้ชืบทอดกันมา

ฤดูกาล :
ช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนสิงหาคม
แหล่งปลูก :
เห็ดตะไคลพบได้ท้องถิ่นตามธรรมชาติ บริเวณหนองน้ำ ป่าละเมาะ ป่าเต็งรัง แถบภาคอีสาน เหนือ
การกิน :
เห็ดตะไครมีกลิ่นหอม เนื้อแน่นกรอบ รสออกหวานนิดๆ นำไปย่างจิ้มน้ำพริก ยำเห็ด ต้มยำเห็ด แจ่วเห็ดตะไคร หรือผัดเห็ดตะไคร
ลักษณะทางพฤกษศาตร์:
ดอกเห็ดอ่อนสีขาวนวล ผิวหมวกเห็ดเรียบ เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 3-15 ซม. เมื่อบานรูปร่างคล้ายกรวย ตรงกลางหมวกเว้าลงเล็กน้อย สีน้ำตาลอ่อน หรือสีเนื้อ เนื้อหมวกหนาด้านล่างหมวกมีครีบเรียงกันเป็นรัศมี ก้านดอกมีลักษณะกลมใหญ่ โคนก้านดอกเรียวเล็กกว่าด้านบนเล็กน้อย ผิวด้านนอกสีขาวนวลและเรียบ เมื่อกระทบแสงไฟในตอนกลางคืนจะเรืองแสง

Saturday, May 22, 2010

ดอกกระเจียว

ภาพที่ปรากฏให้เห็นนี้นั้น มีเพียงปีละครั้ง เมื่อย่างเข้าสู่ฤดูฝน อันเป็นช่วงที่หัวไม้ต่างๆ ในสกุล Curcuma วงศ์ ZINGIBERACEAE พากันผุด ผลิดดอกงดงาม ไม้พวกนี้มักเรียกกัน ในภาษาพื้นบ้านว่า "กระเจียว หรือขมิ้นต่างๆ" ซึ่งดอกอ่อนบางชนิด รับประทานได้ ส่วนดอกกระเจียวสีชมพู หรือที่เรียกว่า ปทุมมา หรือ บัวสวรรค์ ที่ขึ้นเป็นดงตามทุ่ง ก้านดอกเล็กเรียวยาวและแข็ง รับประทานไม่ได้ โดยมากกระเจียว หรือ Cucuma ต่างๆ นี้ มักพักตัวอยู่ใต้ดินในฤดูหนาว และฤดูร้อน เมื่อถึงฤดูฝน จึงเริ่มผลิใบและออกดอก บางพันธุ์มีดอกผุดขึ้นก่อนใบ บางพันธุ์ขึ้นพร้อมกันทั้งดอกและใบ โดยมากประเภทแรกนี้ รับประทานดอกได้ เพราะก้านค่อนข้างสั้น อวบน้ำ ใช้ลวกรับประทานกับน้ำพริก ปทุมาหรือบัวสวรรค์ในภาพนั้นมีก้านแข็ง ไม่ใช้ประกอบอาหาร แต่มีความสวยงามในแง่ของไม้ประดับ ไม้เหล่านี้ได้ผ่านการคัดเลือกพันธุ์มาแล้ว ไม่ใช่ชนิดพันธุ์ป่าดั้งเดิมที่พบแถบปราจีนบุรี ชัยภูมิ เลย อุบลฯ ฯลฯ ชนิดป่านั้นกลีบสีชมพู ซึ่งคล้ายกับกลีบบัวหลวง มีลายสีไล่เรียงกัน ตั้งแต่ชมพูเข้ม ชมพูอ่อนจนถึงสีขาวกลีบรูปร่างแคบและลีบ มีน้อย จึงห่อซ้อนกันไม่มาก ปลายกลีบมักมีสีเขียวอมน้ำตาลแต้มอยู่ เป็นรอยขนาดใหญ่ ซึ่งต่างจากพันธุ์ที่คัดเลือกใว้เพื่อปลูกขาย กลีบจะมีสีชมพูสวย แผ่นกลีบกว้างคุ้มได้รูปอย่างกลีบบัวจริง ห่อหุ้มซ้อนกันหลายชั้น พันธุ์นี้ถือว่าสวยที่สุดต้องไม่มีรอย แต้มสีเขียวที่ปลายกลีบ หรือมีน้อยที่สุด กลีบดอกสีสวยนี้ความจริงคือกลีบรองดอก ส่วนดอกจริงมีขนาดเล็ก รูปร่างกล้ายดอกกล้วยไม้ โคนดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอด กลีบปากมีสีม่วงสดใส แต้มลายเหลือง กลีบอื่นๆ สีขาว ดอกจะเกิดในกลีบรองดอกสีขาว ช่วงล่างซึ่งเป็นรูปโค้งเป็นช่องดอกบายช่วงเช้า และสลดเฉาในช่วงเย็น ภายในกลีบรองดอกนี้มีดอกตูมเล็กๆ อีกมากมาย จะผลิดบานไล่กันไปเรื่อยๆ แต่ละช่องมีดอกบานวันละดอก ในหนึ่งวันอาจมีดอกบานพร้อมกัน ๑ ช่อ ๓-๔ ดอก
ชื่อ กระเจียว
ชื่ออื่น กระเจียวแดง ดอกกระเจียว ดอกอีเจียว
ชื่อวิทยาศาสตร์ Curcuma aeruqinosa Roxb.
ลักษณะ เป็นพืชล้มลุกมีเหง้าในดิน ใบคล้ายใบพาย ออกดอกพร้อมกับใบโคน ช่อมีกาบซ้อนอยู่มาก ออกดอกสี เหลืองปนขาว กาบดอกตอนบนสีม่วงแดง ออกดอกปีละครั้งช่วงเดือนเมษายน - เดือนกรกฎาคม ฤดูแล้งต้น จะโทรม พอฤดูฝนหน่อจะแทงออกมา
แหล่งที่พบ พบทั่วไปในป่าโปร่งตามโคกหรือใต้ร่มไม้ใหญ่ บริเวณหัวไร่ปลายนา ในภาคเหนือและภาคอีสาน
ความสัมพันธ์กับชุมชน ชาวบ้านรับประทานกระเจียวเป็นผัก ส่วนที่เป็นผัก ได้แก่ หน่ออ่อน ดอกอ่อนและดอกแก่ กระเจียว สามารถบริโภคได้ทั้งสดและดอกรับประทานกับลาบ ก้อย ส้มตำ ดอกอ่อนลวกมักรับประทานกับน้ำพริก หรือ นำมาแกงได้ บางบ้านเก็บกระเจียวจากป่าธรรมชาติมาเพื่อจำหน่ายและรับประทานเอง ดอกอ่อนหัวอ่อนของ กระเจียวแดงรสเผ็ดร้อน กลิ่นหอม ต้มกับน้ำมีสรรพคุณขับลม
ความสำคัญทางเศรษฐกิจ ชาวบ้านมีรายได้จากการเก็บดอกกระเจียวมาจำหน่าย โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝนทำให้มีรายได้เสริมเป็นพืชทางเศรษฐกิจของชุมชนท้องถิ่น



Thursday, May 13, 2010

ดอกแคป่า

แคป่าเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางมีความสูงประมาณ 10-20 เมตร ใบประกอบแบบขนนก 3-4 คู่ ใบย่อยรูปไข่รี หรือเรียวแหลมยาว โคนเบี้ยว ดอกคล้ายรูปแตร ปลายบาน 5 กลีบ ขอบใบหยักไปมา ออกเป็นช่อตั้งที่ปลายยอด สีนวล กลิ่นหอม ฝักกลมยาวประมาณ 15-40 ซม. ช่อละ 3-4 ฝัก เมล็ดมีปีก เกิดตามริมน้ำ ลำธาร ป่าโปร่ง ท้องทุ่งนา ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดสิ่งที่เกิดโดยธรรมชาติหาดูได้ตามท้องถิ่น




ประโยชน์
ดอก กินเป็นผัก ใช้ประกอบอาหารหรือลวกกินกับน้ำพริก ใบ ตำพอกบาดแผล ต้มเอาน้ำบ้วนปาก ดอก ขับเสมหะ ขับลม เปลือก แก้ท้องเฟ้อ ใช้กับสตรีหลังคลอด เมล็ด แก้ปวดประสาท แก้โรคชัก ราก แก้เสมหะและลม บำรุงโลหิต ดอกแคทุ่ง มีรสขม จึงไม่มีใครเอามากินสดๆ โดยมาก นิยมนำมาลวกน้ำร้อน แล้วกินเป็นผัก คล้ายสะเดา ลวกดอกแคทุ่ง กินกับป่นปู ป่นปลา ป่นกบ ป่นอึ่ง แซบหลาย กินกับลาบ ก็อร่อยอย่าบอกใคร กินเล่นๆ ก็ขม ชุมชนคนท้องถิ่นอุบลฯได้เก็บมาประกอบอาหารเป็นยาสมุนไพร