Sunday, August 29, 2010

หว่านตูบหมูบ

ชุมชนท้องถิ่นอุบลฯ
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Kaempferia galanga Linn.
ชื่อวงศ์ : ZINGIBERACEAE
ชื่ออื่นๆ : ่ว่านหอม ว่านตีบดิบ เปราะ
หว่านตูมหมูบ (อีสาน)
ลักษณะทั่วไป : หว่านตูมหมูบ เป็นไม้ล้มลุก ลำต้น คลุมดิน เป็นไม้ลงหัว ใบ อ่อนม้วนเป็นกระบอกออกมาแล้วแผ่ราบบนหน้าดิน ต้นหนึ่ง ๆ มักมี 1 – 2 ใบ ทรงกลมโตยาว ประมาณ 5 – 10 ซม. หน้าใบเขียว  มีกลิ่นหอม หัวกลมเหมือนหัวกระชาย ใบงอกงามในหน้าฝน แห้งไปในหน้าแล้วเกิดตามที่ลุ่มชื้นแฉะในป่าตงดิบ ขยายพันธุ์  โดยใช้ลำต้นใต้ดิน รสชาติ รสหอม
นิเวศวิทยา : ขึ้นตามดินหรือเกาะอยู่ตามโขดหิน ตามป่าใกล้ลำน้ำทั่วไป หรือป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณที่ชื้นแฉะ  ชุมท้องถิ่น เหนือ   อีสาน
ประโยชน์ :หว่านตูมหมูบ เป็นเครื่องเทศและเครื่องยา ใบสดเป็นผักจิ้ม น้ำคั้นจากใบและโคนใช้ป้ายคอ เพื่อบรรเทาอาการเจ็บคอ ใช้ล้างศีรษะ เพื่อป้องกันมิให้เกิดรังแค สรรพคุณ  ดอกรสหอมร้อน แก้ตาอักเสบ ตาแฉะ สรรพคุณของ หว่านตูมหมูบ ขาวดอกรสหอมร้อน แก้เด็กนอนสะดุ้ง ร้องไห้ตาเหลือง
ทางอาหาร  ใบอ่อน  หัว  กินสด กับชุปหน่อไม้  ใบอ่อนนำมาใส่แกงอ่อมช่วยดับกลิ่นคาว  เช่นแกงอ่อม ทางยา  เข้ายาแก้โรคตับ มหานิยม การใช้สอยอื่น  น้ำคั้นจากหัวและใบ