Wednesday, July 28, 2010

เห็ดระโงก

เห็ดระโงก,เห็ดระโงกเหลือง  เห็ดระโงก  มีสองสีขาวกับเหลืองเห็ดระโงกไข่เหลือง เขายกย่องให้เป็นยอดเห็ด คล้ายไข่ห่าน เมื่อโตขึ้นหมวกและก้านดอกจะดันปลอกหุ้มแตกออกมา สปอร์และครีบสีขาว แล้วแต่สายพันธุ์ ดอกเห็ดมีลักษณะเป็นเมือก ขอบหมวกมีร่องเล็กๆตรงกันกับครีบ เมื่อดอกบานขอบหมวกจะขาดตามรอยนี้ ด้านล่างหมวกมีครีบสีขาว ก้านดอกยาวเป็นทรงกระบอก ผิวเรียบสีขาวหรือเหลืองนวล เนื้อเยื่อภายในก้านดอกสีขาว และสานต่อกันอย่างหลวมๆ ตรงกลางก้านดอกมีรูกลวงเล็กน้อยไม่มีขายในตลาดเพราะเป็นเห็ดสงวน การเก็บเห็ดชนิดนี้ต้องระวังให้ดี และต้องมีประสบการณ์ดูเห็ดสกุล Amanita มามาก ถ้าพลาดถึงตาย แล้วก็รักษาไม่ได้ เนื่องจากพิษของเห็ดไปทำลายเซลของตับและไต
สาระสำคัญ ที่พบในเห็ดทุกชนิด ได้แก่ เทอร์พีนอยด์และบีตา กลูแคน ที่เป็นตัวช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันให้ทำงานได้อย่างสมดุล นอกจากนี้ ยังพบว่าสารจากเห็ดมีผลต่อพรีไบ-โอติก (Prebiotics) ที่อยู่ในระบบทางเดินอาหาร ทำให้เกิดสารที่เรียกว่า "สารสร้างสมดุล" (adaptogens) สารนี้จะช่วยทำให้เกิดสมดุลในร่างกายเมื่อเกิดความเครียด ประเทศจีนและญี่ปุ่น เป็นประเทศที่มีการใช้เห็ดเป็นยามากที่สุด แต่ปัจจุบันประเทศที่เริ่มมีการพัฒนาใช้เห็ดเป็นยามีเพิ่มมากขึ้น เช่น เกาหลี และสหรัฐอเมริกา เห็ดที่นิยมนำมาใช้เป็นยาและมีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์สนับสนุนได้แก่ เห็ดหอม (Shitake) เห็ดหลินจือ (Reishi) เห็ดช้อนซ้อน (Maitake) เห็ดนางรม (Oyster) เห็ดเข็มทอง (Enokitake) สำหรับในประเทศไทยมีการกินเห็ดกันมากในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จากรายงาน พบว่าเห็ดที่คนอีสานบริโภคมีถึง 483 ชนิด และมีจำหน่ายในท้องตลาด 222 ชนิด แต่การศึกษาเห็ดเป็นยายังมีน้อยมาก ส่วนใหญ่องค์ความรู้การใช้เห็ดเป็นยาที่มีอยู่มักเป็นองค์ความรู้แบบพื้นบ้าน
เห็ดระโงกขาว

Saturday, July 10, 2010

เห็ดเผาะฝ้าย เห็ดเผาะหนัง

เห็ดเผาะนอกจากขึ้นได้ง่ายกับตามร่มต้นไม้ต่างๆ เห็ดเผาะเป็นเห็ดรสดี แต่ปลุกในถุงหรือในแปลงเพาะชำไม่ได้ เนื่องจากเป็นเห็ดป่า คือเห็ดราที่อาศัยอยู่กับรากไม้อาศัยประโยชน์ซึ่งกันและกันรากไม้ให้อาหารบางส่วนแก่เห็ด เห็นยังได้อาหารบางส่วนที่ปล่อยไปภายนอก ย่อยอินทรีย์วัตถุให้อยู่ในสภาพเล็กลง ละลายง่าย เป็นประโยชน์ทั้งต่อเห็ดและต้นพืชเส้นใยของเห็ดรายังช่วยดูดซับไอน้ำมาจากชั้นดินตอนล่างทำให้ต้นไม้ทนต่อความแห้งแล้งเก่งขึ้นเมื่อฤดูฝนแล้งมีฝนตกใหญ่ ต้นไม้ก็แตกใบอ่อน รากก็แตก รากออกใหม่ เส้นใยที่รากก็รวมตัวกันสร้างดอกเห็ด ใช้ดอกเห็ดแก่เป็นพันธุ์เห็ดได้ พลังงานทั่วโลกแพงขึ้นการใช้พลังงานทดแทนจากถ่านไม้ฟืนในชนบททำให้ต้นไม้ในป่าลดลง ต้องช่วยกันปลูกป่าตั้งแต่ต้นฤดูฝนต้นไม้ทุกต้นที่มีอยู่แล้วรักษาไว้ให้เติบโตต่อไป ต้นไม้ที่จะปลูกเพิ่มในป่าชุมชนท้องถิ่นควรจะสร้างประโยชน์มากเป็นรายปีตลอดหน้าฝนโดยการเกิดเห็ดต่างๆในธรรมชาติ และเห็ดเผาะ พืชที่จะนำมาปลูกป่าปลูกเห็ดมีให้เลือกมากมาย
แหล่งที่พบ : พบตามป่าโปร่ง บริเวณพื้นดินใต้โคนต้นไม้ที่ถูกไฟเผาใบแถบภาคอีสานและเหนือ
การกิน : นิยมกินเห็ดในระยะที่อ่อนอยู่ โดยนำไปแกงคั่วและผัดกับเนื้อสัตว์ หรือกินสดเป็นผักจิ้มน้ำพริก
คุณค่าทางอาหาร : เห็ดเผาะ 100 กรัม ให้พลังงาน 47 กิโลแคลอรี ประกอบด้วย แคลเซียม 39 มิลลิกรัม       ฟอสฟอรัส 85 มิลลิกรัม เหล็ก 3.6 มิลลิกรัม ไนอะซิน 0.7 มิลลิกรัม ไทอะมิน 0.04 มิลลิกรัม วิตามินซี 12 มิลลิกรัม โปรตีน 2.2 กรัม ไขมัน 0.4 กรัม คาร์โบไฮเดรต 8.6 กรัม น้ำ 87.8 กรัม
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Astraeus hygrometricus (Pers.) Morgan