Saturday, May 29, 2010

เห็ดไค(เห็ดตะไคร)

เห็ดไค (เห็ดตะไคร)
เห็ดไค มีลักษณะ คล้ายเห็ดก่อ ดอกใหญ่แข็งและกรอบ มีสีขาวปนเทา เวลาย่างจะมีกลิ่นหอม ชอบขึ้นตามป่าที่เปียกชื่นเวลาฝนตกใหม่ๆแหล่งธรรมชาติชุมชนท้องถิ่นต่างๆส่วนมากทางภาคอีสาน ภาคเหนือ เห็ดไคส่วนมากนิยมมาประกอบอาหารทางอีสานเรียกว่า  เห็ดไค ทางเหนือเรียกเห็ดหล่ม ทางภาคกลางเรียกเห็ดตะไคร เป็นสิ่งเกิดโดยธรรมชาิติคนท้องถิ่นเชื่อกันว่าเป็นยาอายุวัฒนะแก้โรคต่างๆได้มากมายตามความเชื่อของคนโบราณซึ่งได้ชืบทอดกันมา

ฤดูกาล :
ช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนสิงหาคม
แหล่งปลูก :
เห็ดตะไคลพบได้ท้องถิ่นตามธรรมชาติ บริเวณหนองน้ำ ป่าละเมาะ ป่าเต็งรัง แถบภาคอีสาน เหนือ
การกิน :
เห็ดตะไครมีกลิ่นหอม เนื้อแน่นกรอบ รสออกหวานนิดๆ นำไปย่างจิ้มน้ำพริก ยำเห็ด ต้มยำเห็ด แจ่วเห็ดตะไคร หรือผัดเห็ดตะไคร
ลักษณะทางพฤกษศาตร์:
ดอกเห็ดอ่อนสีขาวนวล ผิวหมวกเห็ดเรียบ เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 3-15 ซม. เมื่อบานรูปร่างคล้ายกรวย ตรงกลางหมวกเว้าลงเล็กน้อย สีน้ำตาลอ่อน หรือสีเนื้อ เนื้อหมวกหนาด้านล่างหมวกมีครีบเรียงกันเป็นรัศมี ก้านดอกมีลักษณะกลมใหญ่ โคนก้านดอกเรียวเล็กกว่าด้านบนเล็กน้อย ผิวด้านนอกสีขาวนวลและเรียบ เมื่อกระทบแสงไฟในตอนกลางคืนจะเรืองแสง

Saturday, May 22, 2010

ดอกกระเจียว

ภาพที่ปรากฏให้เห็นนี้นั้น มีเพียงปีละครั้ง เมื่อย่างเข้าสู่ฤดูฝน อันเป็นช่วงที่หัวไม้ต่างๆ ในสกุล Curcuma วงศ์ ZINGIBERACEAE พากันผุด ผลิดดอกงดงาม ไม้พวกนี้มักเรียกกัน ในภาษาพื้นบ้านว่า "กระเจียว หรือขมิ้นต่างๆ" ซึ่งดอกอ่อนบางชนิด รับประทานได้ ส่วนดอกกระเจียวสีชมพู หรือที่เรียกว่า ปทุมมา หรือ บัวสวรรค์ ที่ขึ้นเป็นดงตามทุ่ง ก้านดอกเล็กเรียวยาวและแข็ง รับประทานไม่ได้ โดยมากกระเจียว หรือ Cucuma ต่างๆ นี้ มักพักตัวอยู่ใต้ดินในฤดูหนาว และฤดูร้อน เมื่อถึงฤดูฝน จึงเริ่มผลิใบและออกดอก บางพันธุ์มีดอกผุดขึ้นก่อนใบ บางพันธุ์ขึ้นพร้อมกันทั้งดอกและใบ โดยมากประเภทแรกนี้ รับประทานดอกได้ เพราะก้านค่อนข้างสั้น อวบน้ำ ใช้ลวกรับประทานกับน้ำพริก ปทุมาหรือบัวสวรรค์ในภาพนั้นมีก้านแข็ง ไม่ใช้ประกอบอาหาร แต่มีความสวยงามในแง่ของไม้ประดับ ไม้เหล่านี้ได้ผ่านการคัดเลือกพันธุ์มาแล้ว ไม่ใช่ชนิดพันธุ์ป่าดั้งเดิมที่พบแถบปราจีนบุรี ชัยภูมิ เลย อุบลฯ ฯลฯ ชนิดป่านั้นกลีบสีชมพู ซึ่งคล้ายกับกลีบบัวหลวง มีลายสีไล่เรียงกัน ตั้งแต่ชมพูเข้ม ชมพูอ่อนจนถึงสีขาวกลีบรูปร่างแคบและลีบ มีน้อย จึงห่อซ้อนกันไม่มาก ปลายกลีบมักมีสีเขียวอมน้ำตาลแต้มอยู่ เป็นรอยขนาดใหญ่ ซึ่งต่างจากพันธุ์ที่คัดเลือกใว้เพื่อปลูกขาย กลีบจะมีสีชมพูสวย แผ่นกลีบกว้างคุ้มได้รูปอย่างกลีบบัวจริง ห่อหุ้มซ้อนกันหลายชั้น พันธุ์นี้ถือว่าสวยที่สุดต้องไม่มีรอย แต้มสีเขียวที่ปลายกลีบ หรือมีน้อยที่สุด กลีบดอกสีสวยนี้ความจริงคือกลีบรองดอก ส่วนดอกจริงมีขนาดเล็ก รูปร่างกล้ายดอกกล้วยไม้ โคนดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอด กลีบปากมีสีม่วงสดใส แต้มลายเหลือง กลีบอื่นๆ สีขาว ดอกจะเกิดในกลีบรองดอกสีขาว ช่วงล่างซึ่งเป็นรูปโค้งเป็นช่องดอกบายช่วงเช้า และสลดเฉาในช่วงเย็น ภายในกลีบรองดอกนี้มีดอกตูมเล็กๆ อีกมากมาย จะผลิดบานไล่กันไปเรื่อยๆ แต่ละช่องมีดอกบานวันละดอก ในหนึ่งวันอาจมีดอกบานพร้อมกัน ๑ ช่อ ๓-๔ ดอก
ชื่อ กระเจียว
ชื่ออื่น กระเจียวแดง ดอกกระเจียว ดอกอีเจียว
ชื่อวิทยาศาสตร์ Curcuma aeruqinosa Roxb.
ลักษณะ เป็นพืชล้มลุกมีเหง้าในดิน ใบคล้ายใบพาย ออกดอกพร้อมกับใบโคน ช่อมีกาบซ้อนอยู่มาก ออกดอกสี เหลืองปนขาว กาบดอกตอนบนสีม่วงแดง ออกดอกปีละครั้งช่วงเดือนเมษายน - เดือนกรกฎาคม ฤดูแล้งต้น จะโทรม พอฤดูฝนหน่อจะแทงออกมา
แหล่งที่พบ พบทั่วไปในป่าโปร่งตามโคกหรือใต้ร่มไม้ใหญ่ บริเวณหัวไร่ปลายนา ในภาคเหนือและภาคอีสาน
ความสัมพันธ์กับชุมชน ชาวบ้านรับประทานกระเจียวเป็นผัก ส่วนที่เป็นผัก ได้แก่ หน่ออ่อน ดอกอ่อนและดอกแก่ กระเจียว สามารถบริโภคได้ทั้งสดและดอกรับประทานกับลาบ ก้อย ส้มตำ ดอกอ่อนลวกมักรับประทานกับน้ำพริก หรือ นำมาแกงได้ บางบ้านเก็บกระเจียวจากป่าธรรมชาติมาเพื่อจำหน่ายและรับประทานเอง ดอกอ่อนหัวอ่อนของ กระเจียวแดงรสเผ็ดร้อน กลิ่นหอม ต้มกับน้ำมีสรรพคุณขับลม
ความสำคัญทางเศรษฐกิจ ชาวบ้านมีรายได้จากการเก็บดอกกระเจียวมาจำหน่าย โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝนทำให้มีรายได้เสริมเป็นพืชทางเศรษฐกิจของชุมชนท้องถิ่น



Thursday, May 13, 2010

ดอกแคป่า

แคป่าเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางมีความสูงประมาณ 10-20 เมตร ใบประกอบแบบขนนก 3-4 คู่ ใบย่อยรูปไข่รี หรือเรียวแหลมยาว โคนเบี้ยว ดอกคล้ายรูปแตร ปลายบาน 5 กลีบ ขอบใบหยักไปมา ออกเป็นช่อตั้งที่ปลายยอด สีนวล กลิ่นหอม ฝักกลมยาวประมาณ 15-40 ซม. ช่อละ 3-4 ฝัก เมล็ดมีปีก เกิดตามริมน้ำ ลำธาร ป่าโปร่ง ท้องทุ่งนา ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดสิ่งที่เกิดโดยธรรมชาติหาดูได้ตามท้องถิ่น




ประโยชน์
ดอก กินเป็นผัก ใช้ประกอบอาหารหรือลวกกินกับน้ำพริก ใบ ตำพอกบาดแผล ต้มเอาน้ำบ้วนปาก ดอก ขับเสมหะ ขับลม เปลือก แก้ท้องเฟ้อ ใช้กับสตรีหลังคลอด เมล็ด แก้ปวดประสาท แก้โรคชัก ราก แก้เสมหะและลม บำรุงโลหิต ดอกแคทุ่ง มีรสขม จึงไม่มีใครเอามากินสดๆ โดยมาก นิยมนำมาลวกน้ำร้อน แล้วกินเป็นผัก คล้ายสะเดา ลวกดอกแคทุ่ง กินกับป่นปู ป่นปลา ป่นกบ ป่นอึ่ง แซบหลาย กินกับลาบ ก็อร่อยอย่าบอกใคร กินเล่นๆ ก็ขม ชุมชนคนท้องถิ่นอุบลฯได้เก็บมาประกอบอาหารเป็นยาสมุนไพร 

Sunday, May 2, 2010

แมลงกินูน

แมลงกินูนมีด้วยกันหลายประเภท ซึ่งแตกต่างกันไปตามสีของลำตัว แมลงกินูนหม่นเป็นแมลงปีกแข็งขนาดกลาง รูปร่างป้อม หนวดเป็นรูปใบไม้ มีขนปกคลุมเล็กน้อย ส่วนหัว อก ขา มีสีน้ำตาลเข้มคล้ายสีช็อคโกแลต ส่วนปีกมีสีน้ำตาลอ่อนกว่า และไม่ค่อยเป็นมัน ปีกคลุมส่วนท้องแต่ไม่ปกคลุมไปถึงท้องปล้องสุดท้าย อกปล้องที่ 2 มีขนยาวปกคลุมเห็นได้ชัดเจน ขนาดลำตัวยาวประมาณ 22-25 มิลลิเมตร ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Holotrichia sp.
แหล่งที่พบ
          แมลงกินูนเกิดขึ้นโดยธรรมชาติชอบอาศัยอยู่ในดินตามรากของต้นไม้โดยขุดรูทำเป็นที่อาศัย ลักษณะของรูกินูนมีขุยเหมือนกัน แต่ลักษณะขุยจะไม่กลบปากรูเหมือนแมลงในดินประเภทอื่น ขุยจะวางกองรอบๆ ปากรู แมลงกินูนสามารถทำลายพืชที่อยู่ในดินได้มาก ตัวเต็มวัยหลบซ่อนตัวอยู่ตามกองใบไม้ และอยู่ในรูเวลากลางวัน ในเวลากลางคืนจะขึ้นมาอยู่บนต้นไม้หลายชนิด เช่น ต้นผักติ้ว ต้นส้มเสี้ยวและต้นไม้ใหญ่อื่นๆ ทั่วไป โดยอาศัยใบอ่อนเป็นอาหาร เมื่อกินอิ่มแล้วจะลงไปอยู่ในรูเพื่อหลบแดดในตอนกลางวัน
ประโยชน์และความสำคัญ           เมื่อได้แมลงกินูนมาต้องล้างทำความสะอาด แกะส่วนปีกและขาอ่อนก่อน สามารถนำไปประกอบอาหารได้หลายประเภท  เช่น ก้อย คั่ว ป่น ทอด จี่ แกง เมี่ยง และยำดิบกับมะม่วง